หน้าแรก ITA แบบสอบถามความฯ Facebook Admin webmail

-: ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของ เทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ:-

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 ได้กำหนดหน้าที่ของเทศบาลไว้โดยแบ่งตามประเภทของเทศบาล ดังนี้

แสดงภารกิจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543)

ประเภทของเทศบาล ภารกิจหน้าที่

เทศบาลตำบล

(กำหนดไว้ในมาตราที่ 50)

(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

เทศบาลเมือง

(กำหนดไว้ในมาตราที่ 53)

(1) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50

(2) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

(3) ให้มีโรงฆ่าสัตว์

(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้

(5) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

(6) ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ

(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

(8) ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

เทศบาลนคร

(กำหนดไว้ในมาตราที่ 56)

(1) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 53

(2) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก

(3) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข

(4) การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น

(5) จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม

(6) จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

(7) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง

(8) การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว

(9) กิจการอื่น ๆ ตามมาตรา 54

มีข้อน่าสังเกตต่อประเด็นเรื่องหน้าที่ของเทศบาลประการหนึ่งก็คือ หน้าที่ของเทศบาลที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งหมด เทศบาลจะสามารถกระทำได้ ก็ต่อเมื่อไม่มีกฎหมายอื่นๆ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ๆ อีกแล้ว เทศบาลจึงจะสามารถกระทำได้ โดยเห็นได้จากการที่กฎหมายใช้คำนำหน้ามาตราว่า “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาล…มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้…” คำว่า “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย” อื่น ทำให้หน้าที่ของเทศบาลถูกจำกัดไว้ แม้กฎหมายเทศบาลจะกำหนดให้เทศบาลทำหน้าที่นั้นได้ แต่ถ้ามีกฎหมายอื่นกำหนดเป็นอย่างอื่น เทศบาลก็ไม่อาจทำหน้าที่ดังกล่าวตามที่กฎหมายเทศบาลกำหนดได้ หรือกระทำได้ก็ด้วยข้อจำกัดตามที่กฎหมายอื่น ๆ กำหนดเท่านั้น ดังนั้น แม้นว่าในข้อกฏหมายจะได้กำหนดภารกิจหน้าที่ของเทศบาลเอาไว้อย่างกว้างขวาง แต่ก็มิได้หมายความว่าเทศบาลจะสามารถกระทำได้ในทุกหน้าที่ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าว
 

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542


นอกจากหน้าที่ของเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลแล้ว ใน พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังได้กำหนดหน้าที่ของเทศบาลไว้ด้วยเช่นกันในมาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

แสดงภารกิจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

(4) การสาธาณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

(5) การสาธารณูปการ

(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

(7) การพาณิชย์ และส่งเสริมการลงทุน

(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว

(9) การจัดการศึกษา

(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(14) การส่งเสริมกีฬา

(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลแลน้ำเสีย

(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณูปโภคสถานอื่น ๆ

(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(25) การผังเมือง

(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ

(28) การควบคุมอาคาร

(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

การที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ของเทศบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ไว้มากมายเช่นนี้ ก็เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งรวมทั้งเทศบาล ต้องเตรียมตัวรับการถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ งบประมาณ และบุคลากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากรัฐบาล ตามทิศทางที่เป็นผลมาจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำหนดแผนและขั้นตอนให้มีการถ่ายโอนภารกิจหน้าที่จากหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

      อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ      
 
         เทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ มีภารกิจหลัก คือ การพัฒนา โดยจะพัฒนาเทศบาลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความพอประมาณ ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่สุดโต่ง ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยอาศัยความรอบรู้และคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้อย่างคุ้มค่า จะยึดหลักการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ด้วยการสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อให้คนในชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และที่สำคัญการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การพัฒนาเทศบาลจึงจำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์และการวางแผนที่ดี และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ มีความสุข มีความพึงพอใจภายใต้การบริหารงาน จึงมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     1. นโยบายด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน  เพื่อให้มีความสะดวกสบายมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและสามารถรับรองกับการพัฒนาทางสังคมและการเจริญเติบโตของเทศบาลในอนาคต ดังนี้

          1.1 เร่งรัดและพัฒนาปรับปรุงระบบกิจการประปาของเทศบาลให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ปรับปรุงประสิทธิภาพและความสะอาดของน้ำประปาให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น สามารถรับรองต่อการเจริญเติบโตของเทศบาลตามภาวะทางเศรษฐกิจ และเพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
          1.2 ปรับปรุงและขยายเขตการให้บริการระบบแสงสว่างไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนให้มากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่
          1.3 เร่งรัดและพัฒนา ปรับปรุง และซ่อมแซมถนน ตรอก ซอยในเขตเทศบาลให้สามารถรองรับต่อการสัญจรของประชาชน และการขนส่งพืชผลทางการเกษตรในชุมชนให้ใช้การได้ดีอยู่เสมอ
     2. นโยบายด้านเศรษฐกิจ  เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน จะจัดให้มีการส่งเสริมการผลิตสินค้าภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นโดยใช้อัตลักษณ์เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในทางเศรษฐกิจรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ตามแนวทางวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัว มีความรู้ และมีคุณธรรม) ดังนี้
         2.1 ส่งเสริมให้พนักงาน ลูกจ้าง และประชาชนในเขตเทศบาลได้รับการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ทางภาษาของอาเซียน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการฝึกภาษา เพื่อการสื่อสารให้สามารถติดต่อสื่อสารประชาคมอาเซียนได้
         2.2 ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กในครัวเรือนให้มีคุณภาพและสามารถรองรับการแข่งขันได้ในอนาคต
         2.3 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงานในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับต่อการแข่งขันและรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานของเพื่อนบ้าน
         2.4 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
         2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนตลาดชุมชน ตลาดนัดชุมชน ถนนคนเดิน เพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าจากครัวเรือน วิสาหกิจชุมชน และธุรกิจขนาดย่อม
     3. นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต    เพื่อให้การพัฒนาทางสังคมของเทศบาลหินเหล็กไฟมีความรุ่งเรือง ทุกคนมีคุณภาพชีวิตใจที่ดีขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนี้      
          3.1 นโยบายการศึกษา
                3.1.1 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ที่
อยู่ในเขตเทศบาลให้มีความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐานทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมการอ่านพร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ภาษากลางอาเซียน) และภาษาถิ่น
                3.1.2 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้
                3.1.3 เพิ่มขีดความสามารถของประชาชนในเขตเทศบาลและเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนโดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการพัฒนาให้มีคุณภาพ
                3.1.4 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนของเทศบาลหรือหน่วยงานอื่นที่มีความพร้อม
         3.2 นโยบายแรงงาน
                3.2.1 จัดให้มีข้อมูลข่าวสารตำแหน่งงานว่างของสถานประกอบการขณะเดียวกันส่งเสริมให้สถานประกอบการสามารถรับทราบข้อมูลของผู้ต้องการมีงานทำและส่งเสริมให้แรงงานที่อยู่นอกระบบสามารถเลือกและมีงานทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมกับสถานะ
               3.2.2 พัฒนาและยกระดับแรงงานไร้ฝีมือให้เป็นแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานกึ่งฝีมือให้เป็นแรงงานมีฝีมือโดยประสานหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่แรงงานมีฝีมือ เพื่อรองรับการเปิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
               3.2.3 ส่งเสริมการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวร่วมกับภาครัฐและทางราชการ โดยคำนึงถึงความต้องการแรงงานของภาคเอกชนและการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน
         3.3. นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
                3.3.1 จัดให้มีมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค เพื่อลดอัตราป่วยตายและผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่นโรคเบาหวาน โรคความดั้นโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง อย่างมีบูรณาการ จัดให้มีการสื่อสาธารณะ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีความรู้ป้องกันโรค เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเองของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การให้บริการเชิงรุก ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
               3.3.2 สนับสนุนโครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี เพื่อดูแลสุขภาพของสตรีและเด็กอย่างบูรณาการรวมทั้งเผยแพร่ให้ความรู้และดูแลป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการตั้งครรภ์ที่มีพึงประสงค์และลดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
               3.3.3 สนับสนุนโครงหารจักตั้งศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยให้ได้เข้าถึงการบริการอย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณภาพและเป็นธรรมรวมทั้งให้มีระบบการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน จัดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ
               3.3.4 ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึงการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี
               3.3.5 ส่งเสริมสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานในพื้นที่ เช่น ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
       3.4 นโยบายศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
               3.4.1 ส่งเสริมให้พุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ มีบทบาทในการร่วมเทิดทูนสถาบัน
หลักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และร่วมสร้างเทศบาลให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่
               3.4.2 ส่งเสริมและอนุรักษ์ทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์แหล่งศาสนาศิลปวัฒนธรรมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของชุมชนรวมถึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดงทั้งที่เป็นมรดกของชาติและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นมรดกของคนรุ่นต่อไป
               3.4.3 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการนันทนาการเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มีคุณธรรม เอื้ออาทรต่อผู้อื่นและเกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์ เขจ้าใจถึงคุณค่าซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
               3.4.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Area) เช่น ลานศิลปะดนตรี เพื่อให้เด็กและเยาวชน ศิลปิน มีสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงผลงานต่อสาธารณชน
               3.4.5 จัดให้มีการศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นอื่นอย่างต่อเนื่อง
     4. นโยบายด้านกีฬาและนันทนาการ  เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพทางด้านกีฬาอันเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี มีประโยชน์ ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจมั่นคง ดังนี้
                   4.1 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาทุกระดับ
                   4.2 ส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพในทุกกลุ่มอายุ
                   4.3 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ระหว่างชุมชน เพื่อสุขภาพที่ดีและความสามัคคีในชุมชน
     5. นโยบายด้านสังคมและสวัสดิการสังคมสงเคราะห์  เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสพัฒนาทางด้านสังคม และได้รับการดูแลทางด้านสวัสดิการอย่างทั่วถึงและมีความเป็นธรรม ดังนี้
                   5.1 สร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ยากไร้หรือผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการและทุพลภาพ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีอาชีพเสริมให้สามารถพึ่งตนเองได้
                   5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการให้มีกองทุนสวัสดิการสังคมในชุมชนตามนโยบายรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
                   5.3 จัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์อย่างครอบคลุมและทั่วถึง
                   5.4 จัดให้มีการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีที่เกิดเหตุสาธารณภัย
      6. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก ความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาและการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นในเขตเทศบาลให้คงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี เหมาะแก่การดำรงชีพ ดังนี้
                   6.1 เร่งสำรวจและจัดทำแนวเขตการใช้ที่สาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาลให้ครอบคลุม
                   6.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความสำนึกและความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยเฉพาะปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะมูลฝอย และร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข
                   6.3 จัดให้มีการเฝ้าระวังและดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเสีย กลิ่นและเสียงที่เกิดจากการผลิตและบริโภค และสนับสนุนการจัดกิจกรรม เฝ้าระวังฟื้นฟูแหล่งน้ำ ตรวจเช็คคุณภาพน้ำในเขตเทศบาล
                   6.4 ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน ปรับปรุงสวนสาธารณะให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ออกกำลังกายแก่ชุมชน
                   6.5 เร่งรัดการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และระบบการกำจัดขยะมูลฝอยรวม เพื่อรองรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสังคมเมืองและการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
      7. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เพื่อให้การบริหารงานของเทศบาลดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีกลยุทธ์ และเป็นที่ยอมรับทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร อันจะนำพาให้เทศบาลตำบลหินเหล็กไฟมีความเจริญก้าวหน้า ดังนี้
          7.1 ประสิทธิภาพการบริหารงานเทศบาล
                   7.1.1 พัฒนาระบบการทำงานของเทศบาลอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการบริหารเชิง   กลยุทธ์อย่างมีวิสัยทัศน์และมุ่งผลสัมฤทธิ์นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บทบาทและภารกิจของเทศบาลมีความกระชับมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดกับการบริการประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
                   7.1.2 เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานแบบบูรณาการที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงและปรับปรุงระบบการบริการประชาชนให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น ให้ส่วนราชการของเทศบาลเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการสร้างนวัตกรรมในการทำงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
                   7.1.3 พัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารงานบุคคลของเทศบาล โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสามารถประเมินผลงานได้ด้วยระบบคุณธรรมและให้หลักประกันความมั่นคงบนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถและผลงานสาธารณตลอดจนปรับปรุงพัฒนาทัศนคติวิธีคิดและวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของเทศบาล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน
                   7.1.4 พัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ของเทศบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการทำงานบริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนาเจ้าหน้าที่และสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบการทำงาน
                   7.1.5 เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่และพัฒนาความโปร่งใสในการทำงานของเทศบาล เพื่อให้เจ้าหน้าที่เป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจของประชาชนตลอดจนจะสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสงคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ความเสมอภาคเท่าเทียมกันและความถูกต้อง ชอบธรรม
                   7.1.6 พัฒนาระบบการทำงานให้เป็นระบบที่โปร่งใสมากขึ้น โดยการวางระบบการตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ตามาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ความคุ้มค่า พัฒนากระบวนการติดตามเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารตลอดจนการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาลให้เกิดความสุจริตและมีประสิทธิภาพ
                   7.1.7 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานของเทศบาล โดยให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเทศบาล ให้ประชาชนมีโอกาสแสดงประชามติหรือประชาคมในประเด็นสำคัญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารร่วมเสนอความเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไขและมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
                   7.1.8 เร่งรัดการบริหารงานโดยการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริการที่รวดเร็ว ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้นตามนัยหมวด 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2556
                   7.1.9 ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่ทันสมัย
         7.2 พัฒนาปรับปรุงเทศบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมาย
                   7.2.1 พัฒนาปรับปรุงเทศบัญญัติทั้งระบบให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับหลักนิติธรรมตลอดจนบังคับใช้เทศบัญญัติ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างยุติธรรม เสมอภาค เท่าเทียม โปร่งใสมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักนิติธรรม
                   7.2.2 พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ให้มีความครอบคลุม เป็นธรรมและทั่วถึง